วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

จากการเรียนที่ผ่านมา
นักศึกษาเองได้ข้อคิดและข้อปฎิบัติในวิชาชีพในอาคตได้เป็นอย่างดี พร้อมกับการตระหนักถึงความรับผิดชอบและความอดทนเอาใจใส่ต่องาน รวมทั้งการตรงต่อเวลาอันนี้ นักศึกษาได้เรงเห็นเป็นสำคัญอย่างมากความรู้ที่ได้จากวิชาชีพที่นักศึกษาได้เรียนนั้นพร้อมที่จะนำไปปฎิบัติ และเป็นไปในสิ่งที่ดี ที่เหมาะที่ควร สิ่งที่ได้จากผู้ที่เข้ามา อบรมหรือให้ความรู้แก่นักศึกษา เป็นบุคคลที่ผ่านชีวิตในวิชาชีพมาแล้วทั้งนั้น ทำให้นักศึกษาได้เชื่อมั่นในระดับหนึ่ง ที่บุคคลคนนั้นได้พูด คือการมาให้ความรู้นั้นเองเป็นสิ่งที่นักศึกษาได้ข้อคิดและความมั่นใจในสิ่งที่นักศึกษาจะต้องไปอยู่ในวันข้างหน้า และได้รู้ว่าจะต้องใช้ความรู้ระดับไหน ความรับผิดชอบ อดทน ที่นักศึกษาจะต้องเจอในวันข้างหน้า
ในทุกๆ แขนงที่ได้นำบุคคลมาบรรยายนั้น เป็นสิ่งที่ดีและเพอแฟคมากๆ นักศักษาได้ความรู้มากๆ รวมถึงความสนุก การร่วมมือกันของนักศึกษาแต่ละแขนง ทำให้ได้มองเห็นถึงการร่วมไม้ร่วมมือกัน เป็นสิ่งดีที่ได้เข้ามาเรียนในวิชานี้ในสถาบันนี้เป็นอย่างมากๆ รวมไปถึงคณะครูอาจารย์ทุกท่าน ที่เมตตาต่อนักศึกษาและหวังดีกับลูกศิษของอาจารย์เสมอ.......

DTS 12 21/09/2009

วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เรียนวิชาโครงสร้างข้อมูลอาจารย์บอกแนวการออกข้อสอบให้ว่าออกตามที่อาจารย์ได้สอนมาออกทั้งหมด3 เรื่องได้แก่ เรื่องต้นไม้ เรื่องกราฟ เรื่องSortingแต่เรื่องที่ออกแยกที่สุดจะเป็นเรื่องต้นไม้ และมีข้อเขียนทั้งหมด 3 ข้อให้เลือกทำ 2 ข้อเท่านั้นอ่านโจทย์ในการทำให้ดี

DTS 11 15/09/2009

เรื่องต้นไม้และขึ้นเรื่องกราฟการสร้างต้นไม้โดยใช้เวลาที่สั้นที่สุดในการหาแต่ละโหนดของต้นไม้อาจารย์สอนการหาทางที่สั้นที่สุดให้ดูและบอกวิธีการเรียงน้ำหนักในการเชื่อมโยงแต่ละโหนดส่วนเรื่องกราฟอาจารย์สอนในเรื่องของการหาค่าจากน้ำหนักที่เร็วที่สุดในกราฟ และรอต่ออาทิตย์หน้า

DTS 10 08/09/2009

สรุปเนื้อหาที่ออกสอบ- โครงสร้างข้อมูลแบบทรี- โครงสร้างข้อมูลแบบกราฟ- การเรียงลำดับข้อมูล- การค้นหาข้อมูลทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลายส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆโครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้น1. การท่องไปแบบพรีออร์เดอร์(Preorder Traversal)เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ ในทรีด้วยวิธีNLR มีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) เยือนโหนดราก
(2) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบพรีออร์เดอร์
(3) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบพรีออร์เดอร์
2.การท่องไปแบบอินออร์เดอร์(Inorder Traversal)เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆในทรีด้วยวิธี LNRมีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบอินออร์เดอร์
(2) เยือนโหนดราก
(3) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบอินออร์เดอร์กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์(Adjacency List) ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายวิธีจัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์เตอร์ แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้ ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการท่องไปในกราฟ1. การค้นหาแบบกว้าง (Breadth-first Search)กำหนดจุดเริ่มต้น ถ้าให้เริ่มต้นที่จุด A การค้นหาจะเริ่มต้นที่โหนดประชิดของ A จนครบทุกจำนวนของโหนดประชิดจากภาพที่ปรากฏต่อไปนี้ โหนด N1 โหนด N2 ไปเรื่อย ๆจนจบที่โหนด Nk การค้นหาแบบกว้างจะค้นหาต่อที่โหนดประชิดของ N1 ซึ่งเป็นโหนด ประชิดแรกของโหนด Aแบบแผนการค้นหา จะเป็นแบบเดียวกับโหนด A หลังจากเสร็จสิ้นการค้นหาจะดำเนินการค้นหาต่อที่ โหนด N2 จนสุดท้ายจบที่ โหนด Nk ในหารค้นหาแบบกว้างจะใช้คิวเก็บลำดับSorting- การเรียงลำดับ- วิธีการเรียงลำดับ- การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)- การเรียงลำดับแบบฟอง (bubble Sort)- การเรียงลำดับแบบเร็ว (quick sort)- การเรียงลำดับแบบแทรก (insertion sort)- การเรียงลำดับแบบฐาน (radix sort)

DTS 09-01-09-2009

ต่อเนื่้องจากครั้งที่ DTS 06-25-08-096. ระดับของโหนด (Level of Node) คือระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนดราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาวเท่ากับ 1หน่วย ซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุดจากโหนดรากไปยังโหนดใด ๆบวกด้วย 1และจำนวนเส้นทางตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง(Height) หรือความลึก (Depth)ไบนารีเซิร์ชทรีไบนารีเซิร์ชทรี (Binary Search Tree)เป็นไบนารีทรีที่มีคุณสมบัติที่ว่าทุก ๆ โหนดในทรีค่าของโหนดรากมีค่ามากกว่าค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางซ้าย และมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางขวาและในแต่ละทรีย่อยก็มี คุณสมบัติเช่นเดียวกันกราฟ (Graph)เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนเช่น การวางข่าย งานคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ และปัญหาเส้นทางสั้นที่สุด เป็นต้นนิยามของกราฟกราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphsและถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)ถ้าต้องการอ้างถึงเอ็จแต่ละเส้นสามารถเขียนชื่อเอ็จกำกับไว้ก็ได้การเขียนกราฟแสดงโหนดและเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างโหนดไม่มีรูปแบบที่ตายตัวการลากเส้นความสัมพันธ์เป็นเส้นลักษณะไหนก็ได้ที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดได้ถูกต้อง นอกจากนี้เอ็จจากโหนดใด ๆ สามารถวนเข้าหาตัวมันเองได้

DST 08-25-08-2009

เรื่อง Treeทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลายส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆโครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้นแต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)นดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)นิยามของทรี1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใด ๆ ในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้นการเขียนรูปแบบทรี อาจเขียนได้ 42. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด โดยที่ ถ้าว่าง ไม่มีโหนดใด ๆ เรียกว่านัลทรี (Null Tree) และถ้ามีโหนดหนึ่งเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็นทรีย่อย (Sub Tree)T1, T2, T3,…,Tkโดยที่ k>=0 และทรีย่อยต้องมีคุณสมบัติเป็นทรีนิยามที่เกี่ยวข้องกับทรี1. ฟอร์เรสต์ (Forest)หมายถึง กลุ่มของทรีที่เกิดจากการเอาโหนดรากของทรีออกหรือ เซตของทรีที่แยกจากกัน2. ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree)หมายถึง ทรีที่โหนดต่าง ๆ ในทรีนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่น ไปทางขวาไปทางซ้าย เป็นต้น3. ทรีคล้าย (Similar Tree) คือทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกัน หรือทรีที่มีรูปร่างของทรีเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่อยู่ในแต่ละโหนด4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์ โดยต้องเป็นทรีที่คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่งเดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน5. กำลัง (Degree) หมายถึงจำนวนทรีย่อยของโหนด นั้น ๆ6. ระดับของโหนด (Level of Node) คือระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนดราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาวเท่ากับ 1หน่วยซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุดจากโหนดรากไปยังโหนดใด ๆ บวกด้วย 1และจำนวนเส้นทางตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง (Height) หรือความลึก (Depth)

DTS 07 11/08/2009

สรุปบทเรียนวันนี้อาจารย์ให้ส่งสมุดจดการบ้านและส่งงานที่ส่งให้ทำงานกลุ่มอาจารย์ให้ไปอ่านเรื่องคิวเองเพราะนักศึกษาเสียงดังไม่มีมารยาท

DTS 06 4/08/2009

เรื่อง Stack- โครงสร้างข้อมูลแบบสแตก- การดำเนินงานพื้นฐานของสแตก- การแทนที่ข้อมูลของสแตก- การประยุกต์ใช้สแตกเรื่อง Stackสแตก (Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก จะกระทำที่ ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตก (TopOf Stack) และ ลักษณะที่สำคัญของสแตกคือ ข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมา จากสแตกเป็นลำดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่าLIFO (Last In First Out)การทำงานต่าง ๆ ของสแตกจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งของ สแตกเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีตัวชี้ตำแหน่งข้อมูลบนสุดของสแตกด้วยการทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุด ของสแตก3. Top คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนลงสุด ของสแตก

DTS 05 3/08/2009

Linked List- โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์- กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน- การสร้างลิงค์ลิสต์- ลิงค์ลิสต์แบบซับซ้อนลิงค์ลิสต์ (Linked List)
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด (Node) ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือData จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

DTS ครั้งที่ 04-14/07/2009

โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ตโครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String)
หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริง
มีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor) หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบข้อความ การจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้นความยาวของสตริง จะถูกกำหนดโดย
ขนาดของสตริง การกำหนดขนาดของสตริงนั้นต้องจองเนื้อที่ในหน่วยความจำให้กับ \0ด้วย
เช่น
“This is String !”
จะเป็นข้อมูลแบบสตริงยาว 16 อักขระ
ฟังก์ชัน gets( )
เป็นฟังก์ชันที่อ่านค่าจากแป้นพิมพ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งก็คืออะเรย์ที่ตัวแปร name ชี้อยู่ รวมทั้งช่องว่าง จนกว่าผู้ใช้จะกดEnter จะเติม null character ให้หากใช้ scanf( ) จะถือว่า Jame เป็นค่าหนึ่งและ Smith เป็นอีกค่าหนึ่ง เพราะมีช่องว่างคั่น และไม่เติม null character นั่นคือจะได้อะเรย์ที่มีค่าเป็น Jame ไม่ใช่ String ที่มีค่าเป็น
Jame Smith

DTS ครั้งที่ 03-30/06/2009

สรุปสาระการเรียนรู้ครั้งที่ 2
เรื่องแถวลำดับและระเบียนข้อมูล
-การดำเนินการเปรแกรม และฟังก์ชัน
-การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ เรคคอร์ด
-ความสัมพันธ์ระหว่าง เรคคอร์ด กับอะเรย์ และอะเรย์เ
ชนิดโครงสร้าง
Phorramatpanyaprat T. : Data Structure 3
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นักศึกษาทราบวิธีการของอะเรย์
2. เพื่อให้นักศึกษาทราบวิธีการส่งค่าของอะเรย์
ในโปรแกรม และฟังก์ชัน
3. เพื่อให้นักศึกษาทราบวิธีการดำเนินการที่
เกี่ยวข้องกับเรคคอร์ด ข้อมูล
4. เพื่อให้นักศึกษาทราบความสัมพันธ์ของข้อมูล
ที่เกิดขึ้นของเรคคอร์ดกับอะเรย์ข้อมูล
Phorramatpanyaprat T. : Data Structure 4
Array
อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะ
คล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวน
คงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บ
ที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก
การกำหนด Array
การกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่ออะเรย์ พร้อม
subscript ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตของอะเรย์ มีได้
มากกว่า 1 ตัวจำนวน subscript จะเป็น ตัวบอกมิติ
ของอะเรย์นั้น อะเรย์ที่มี subscript มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปสาระการเรียนรู้บทที่2

สรุป บทที่ 2 Array and Record

อเรย์ เป็นตัวกำหนดขอบเขต จะมี subscript มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป เรียกว่า อเรย์หลายมิติ
Subscript จะมีตัวประกอบด้วยคุณค่าสูงสุด และต่ำสุด ค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุด
ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน

อะเรย์ 1 มิติ หมายถึง คอมพิวเตอร์จะจองเนื้อที่ในหน่วยความจำ
การส่งอะเรย์ให้กับฟังก์ชัน แบ่ง 2 ลักษณะ
1. กำหนด array element เป็นพารามิเตอร์ส่งค่าให้กับฟังก์ชัน
2. ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชัน ทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์โดยไม่มี subscript

อะเรย์ 2 มิติ หมายถึง คอมพิวเตอร์จะจองเนื้อที่ในหน่วยความจำ จำนวน 6 ที่

Record or Structure
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบขึ้นมาจากข้อมูล พื้นฐานต่างประเภทกัน รวมเป็น 1 ชุดข้อมูล
Structure คือ โครงสร้างที่สมาชิกแต่ละตัวมี ประเภทข้อมูลแตกต่างกันได้
การประกาศสมาชิกแต่ละตัวของ structure สมาชิกแต่ละตัวของ structrue จะเป็นตัวแปร ธรรมดา พอยน์เตอร์ อะเรย์หรือ
structure ตัวอื่นก็ได้ โดยชื่อของสมาชิกแต่ละตัวต้องแตกต่างกัน
กำหนดค่าเริ่งต้นให้กับสมาชิกของ structure โดยค่าเริ่มต้นที่จะกำหนดให้กับสมาชิกตัวใด จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับสมาชิกตัวนี้
การผ่าน Structure ให้กับฟังก์ชัน มี 2 ประเภท
1.ส่งสมาชิกแต่ละตัวของ Structure ส่งเป็นอาร์กิวเมนต์ ของฟังก์ชันและส่งกลับจากฟังก์ชันได้โดยใช้คำสั่ง return
2.ส่งทั้ง Structure ส่งผ่านในลักษณะของพอยน์เตอร์ไปยัง structure โดยหลักการจะเหมือนกับการส่งผ่านอะเรย์ไปให้ฟังก์ชัน

สรุปสาระการเรียนรู้บทที่1

โครงสร้างข้อมูล (File Structure) หมายถึง ลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. หน่วยข้อมูล (Data Item) หมายถึงส่วนที่เล็กที่สุดของข้อมูล เช่น ตัวเลข ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ จะยังไม่มีความหมายในตัวเอง เล่น เลข 9 อักษร ก เป็นต้น
2. ฟิลด์ข้อมูล (Data Field) หมายถึง การนำเอาหน่วยข้อมูลที่สำคัญและต้องการศึกษามาไว้ด้วยกัน เพื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ชื่อ - สกุล คะแนนการสอบครั้งที่ 1 เงินเดือน ซึ่ง ชื่อ สกุล และเงินเดือน คือ 1 ฟิลด์
3. เรคอร์ดข้อมูล (Data Record) หมายถึง การนำฟิลด์หลายฟิลด์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักศึกษาแต่ละคน จะมีข้อมูล ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนคือ 1 เรคอร์ด
4. แฟ้มข้อมูล (Data File) เกิดจากการนำระเบียนหรือเรคอร์ด หลาย ๆ เรคอร์ดที่เกี่ยวข้องกันในด้านใดด้านหนึ่งมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลของนักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 20 คน ทุกคนต่างก็มีข้อมูล คือ ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ ศาสนา ข้อมูลของนักเรียนทั้งหมดคือ แฟ้มข้อมูล
5. ฐานข้อมูล (Data base) เกิดจากการนำแฟ้มหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกันโดยที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มจะมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ก็ตาม ทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน และสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน

DTS-02/23/06/2552

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบ้าน

#include
#include
void main()
{
struct book {
char book_cartoon[50];
int vol;
char story[50];
int page;
int all_vol;
char shop_sells[50];
char price;
float vat;
char by_from[20];



};
struct book student;

strcpy(student.book_cartoon,"One Piece");
printf("Book_cartoon:%s\n",student.book_cartoon);
student.vol=1;
printf("vol:%d\n",student.vol);
strcpy(student.story,"Origin_loofy");
printf("story:%s\n",student.story);
student.page=500;
printf("page:%d\n",student.page);
student.all_vol=6;
printf("all_vol:%d\n",student.all_vol);
strcpy(student.shop_sells,"CS book");
printf("shop_sells:%s\n",student.shop_sells);
student.price=99;
printf("price:%d\n",student.price);
student.vat=6.93;
printf("vat:%2f\n",student.vat);
strcpy(student.by_from,"Japan");
printf("by_from:%s\n",student.by_from);


}

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ

ชื่อ-นามสกุล : นาย นพพล พลอยมุกดา

Mr. Noppol Ploymookda

ชื่อเล่น : นพ

รหัสนักศึกษา : 50132792090

หลักสูตร : การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะ วิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

E-mail : u50132792090@gmail.com

Tel : 08-65430362